ข้อพิพาทซีเกม 2023
ซีเกม 2023 มหกรรมกีฬาอันยิ่งใหญ่ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะรวมเอาทั้ง 11 เข้าแข่งขันในกีฬากว่า 49 ชนิดในครั้งนี้ และกำลังจะเริ่มทำการแข่งขันกัน ในวันที่ 5 ซึ่งมีหลายเรื่องที่ยังไม่ได้ข้อสรุปเป็นข้อพิพาท ระหว่างเจ้าภาพกับชาติสมาชิกที่เข้าร่วมแข่งขัน เป็นปัญหาในการเตรียมทีมของชาติต่างๆเป็นอย่างมาก สำหรับบทสรุปในหลายเรื่องที่ยังไม่มีผลออกมาว่าเจ้าภาพจะเอาแบบได้
เดิมพันกีฬาออนไลน์กับเว็บสปอร์ตบุ๊คออนไลน์ที่ดีที่สุด
ทำให้หลายทีมต้องตัดตัว หรือประกาศไม่ส่ง เพราะเตรียมความพร้อมไม่ทัน มีอยู่ด้วยกันหลายทั้งเรื่องกฎกติกาในการลงแข่งที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างไม่เป็นธรรมต่อชาติสมาชิก ระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างตัวสนาม หรือหมู่บ้านนักกีฬาที่ไม่อาจเสร็จทัน กีฬาสากลที่ถอดออดจากการแข่งขันในครั้งนี้ เรื่องปัญหาค่าลิขสิทธ์ในการถ่ายทอดสด และอีกหลายเรื่อง
ปัญหาลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสัญญานสด ซีเกม 2023
เรื่องนี้เป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ว่าประเทศไทยอาจจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดสูงถึง 28 ล้านบาท ทำให้มีแฟนกีฬาชาวไทยไม่พอใจเป็นวงกว้าง เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะซีเกมครั้งไดชาติสมาชิก จะไม่ต้องเสียมค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งถ่ายทอดสดฟรี จะมีเสียแค่ค่าธรรมเนียมเท่านั้น โดยขข้อชี้แจงนี้ แคมซอค (CAMSOC) ได้ออกมาระบุว่า ทุกประเทศจะเสียแค่ค่าธรรมเนียมเท่านั้น การรายงานข่าวของสื่อไทยนั้นมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเอง
ส่วนในเรื่องของการถ่ายทอดสดที่ ทาง สปอร์ต 7 และผู้แทนโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) นางโปรดปราน สมานมิตร รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ฝ่ายส่งเสริมกีฬา พร้อมด้วย พันโท รุจ แสงอุดม ผู้อำนวยการ ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมหารือ กับฝ่ายจัดการแข่งขันซีเกมก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ก็มีเรื่องดีคือแฟนกีฬาชาวไทยจะได้ชมฟุตบอลชายคู่ไทย พบ สิงคโปร์ วันที่ 30 เมษายนนี้แน่นอน
รวมกับ อีก 16 ชนิดกีฬาเท่านั้นคือ กุน ขแมร์, กรีฑา (ลู่และลาน), กีฬาทางน้ำ (ว่ายน้ำ และกระโดดน้ำ), ฟุตบอล, เปตอง, วอลเลย์บอล, แบดมินตัน, เซปักตะกร้อ-ชินลง, คาราเต้, เทควันโด, มวยสากลสมัครเล่น, บาสเกตบอล, ปันจักสีลัต, ฮอกกี้, เทเบิลเทนนิส และอีสปอร์ต ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าเจ้าภาพกัมพูชาจัดให้มีการถ่ายทอดสด กีฬาอีกหลายประเภทที่เหลืออยู่หรือไม่ คงต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการจากทางผู้จัดการแข่งขันซีเกม ครั้งที่ 32 นี้ต่อไป
ข้อพิพาทเรื่องกฏกติกาที่ถูกเจ้าภาพเปลี่ยน
กีฬาซีเกมเป็นมหกรรมกีฬาระดับภูมิภาค ที่มีประเทศเข้าแข่งทั้งหมด 11 ประเทศ ที่ผ่านมาแม้จะมีการบรรจุกีฬาที่ไม่เป็นสากล ต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานกติกาการแข่งขันที่เท่าเทียม แต่ในซีเกมครั้งที่ 32 นี้ ทางเจ้าภาพกัมพูชาได้มีการเปลี่ยนกฏในการลงแข่ง ในกีฬาหลายประเภทเพียงเพื่อต้องการความเป็นเจ้าเหรียญทอง หรือให้นักกีฬาคว้าเหรียญให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น
กีฬา "มวยสากล" ทางเจ้าภาพได้กำหนดกฏในการลงแข่งใหม่ โดยชาติเจ้าภาพสามารถส่งลงแข่งได้ทุกรุ่นทั้งชายและหญิง แต่ชาติสมาชิกที่เหลือให้ส่งนักกีฬาชายได้ เพียง 8 ใน 12 รุ่น และหญิงส่งได้เพียง 3 ใน 5 รุ่น จากที่ชิงแชมป์เหรียญทองกันทั้งหมด 17 รุ่น
เซปักตระกร้อ อันนี้ใครก็รู้ว่าไทยยืนหนึ่งที่พอสูสีก็คือมาเลเซีย แต่ในซีเกมครั้งที่ 32 นี้กัมพูชาเจ้าภาพกำหนดกฎของการลงแข่งครั้งนี้ว่า ทีมชายได้ 3 ใน 6 อีเวนต์ และประเภทหญิงจะส่งแข่งขันได้ 2 ใน 4 อีเวนต์ และนักกีฬาที่จะใช่ต้องไม่เกิน 12 คน ซึ่งทางเจ้าภาพสามารถส่งลงได้ทุกอีเวนต์ ที่มีแข่งขันกันทั้งหมด 10 เหรียญทอง
กีฬาซอฟท์เทนนิส คล้ายกับกีฬามวยสากล ชิงกันทั้งหมด 7 เหรียญทองแต่ทุกประเทศส่งได้แค่ 5 ประเภทส่วนเจ้าภาพส่งได้ครบทั้งหมด 7 ประเภท นักกีฬาก็ยังเจ้าภาพสามารถส่งได้เต็ม ชาย 12 หญิง 12 คน แต่ชาติสมาชิกทึ่เข้าแข่งส่งนักกีฬา ได้ไม่เกินชาย 6 คนและหญิง 6 คนเท่านั้น
กีฬาแบตมินตัน ที่ในระดับสากลมีแค่ ทีมชาย ทีมหญิง ประเภทบุคคล แต่ในครั้งนี้กลับเพิ่มทีมผสมเข้าไป รวมถึงให้เฉพาะประเทศในเทียร์ 2 ได้ลงแข่งพัฒนาฝีกมือ ซึ่งตัดสิทธิ์การเข้าแข่งของ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยให้เหตุผลว่าประเทศเหล่านี้มีนักกีฬาระดับโลกมากมาย
เจ้าภาพถอดกีฬาสากล แล้ว บรรจุกีฬาพื้นบ้านไม่เป็นสากลเข้าไป
กีฬาที่ถูกถอดออกไปแล้วมี ฟุตซอล การแข่งซีเกมในครั้งนี้เจ้าภาพมีการได้มีการถอดกีฬาสากลออก อย่าง ฟุตซอลที่อยู่ในกีฬาสากลถูกถอดออกจากการแข่งขัน ก็ต้องยอมรับว่าทีมฟุตซอลของไทยอยู่ในระดับโลกและเป็นหนึ่งในกีฬา ที่ทีมไทยมีโอกาสคว้าเหรียญ แต่ทีมของทางเจ้าภาพดูจะไม่มีโอกาสคว้าเหรียญในกีฬาฟุตซอลจึงถูกถอดออด
"มวยไทย" ที่ได้รับบรรจุการแขงขันเข้าไปในโอลิมปิก หรือ เอเชียน อินดอร์ แอนด์ มาร์เชียลอาร์ต เกมส์ และเวิลด์ เกมส์ ก็จัดได้ว่าเป็นกีฬาสากล กลับถูกทางเจ้าภาพถอดออก จนเป็นข้อพิพาทระหว่างไทย กับ กัมพูชา ที่ทางเจ้าภาพดันบรรจุกีฬา กุน โบกาตอร์ ที่เคลมว่าเป็นต้นตำหรับและเกิดมาก่อนกีฬามวยไทย ทำให้เกิดการโต้เถียงกันใหญ่ในวงโซเชียลมีเดียมีการบลัฟกันไปมา ระหว่างแฟนกีฬาของทั้งสองประเทศ
นอกจากนี้ยังมี "มวยสากล" ชิงกันทั้งหมด 17 เหรียญทอง (ชาย 12 เหรียญทอง และหญิง 5 เหรียทอง) แต่ทางเจ้าภาพกลับมีการตั้งกฏขึ้นมาใหม่โดยให้ทุกชาติส่งนักกีฬาชายเข้าแข่งขันได้เพียง 8 ใน 12 รุ่น และหญิงส่งได้เพียง 3 ใน 5 รุ่น ส่วนเจ้าภาพกัมพูชาสามารถส่งเข้าแข่งได้ทุกรุ่น เป็นข้อกังขาที่อีก 10 ประเทศก็ยังตั้งคำภามรวมเสียงบ่นจากแฟนกีฬามวย ว่าเจ้าภาพเอาเปรียบเพียงเพื่อต้องการเป็นเจ้าเหรียญทอง
หรือจะเป็นกีฬาซอฟท์เทนนิส ที่ก็โดนเปลี่ยนกฏแปลกจากทางเจ้าภาพคล้ายกับกีฬามวยสากล ที่ชิงกันถึง 7 เหรียญทองแต่ทุกประเทศส่งได้แค่ 5 เภท ส่วนเจ้าภาพส่งได้ครบทั้งหมด 7 ประเภท นักกีฬาก็ยังโดนลดเจ้าภาพสามารถส่งได้ ชาย 12 หญิง 12 คน แต่อีก 10 ประเทศส่งได้ไม่เกินชาย 6 คนและหญิง 6 คนเท่านั้น
เซปักตะกร้อ กีฬาที่ไทยเรีบกได้ว่าเป็นแชมป์ตลอดกาลก็ว่าได้ชิงกัน 10 เหรียญทอง ก็โดนกีดกันให้ส่งแข่งทีมชายได้ 3 ใน 6 อีเวนต์ และประเภทหญิงจะส่งแข่งขันได้ 2 ใน 4 อีเวนต์ และนักกีฬาที่จะใช่ต้องไม่เกิน 12 คน
และที่ดูแย่ที่สุดคือกีฬาแบตมินตัน มีการบรรจุอีเวนต์ แบดมินตันประเภททีมผสม ซึ่งปกติจะไม่มีการแข่งขันประเภทนี้ มีก็แต่ประเภททีมชาย ทีมหญิงและประเภทบุคคลเท่านั้น รวมตัดสิทธิ์ประเทศไทยอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ มีนักกีฬาแบตมินตันอยู่ในระดับโลกมากมาย ไม่ให้เข้าแข่ง ให้เหตุผลว่าอยากให้ประเทศระดับเทียร์ 2 ได้ลงแข่งกันเองเพื่อพัฒนาฝีมือ ซึ่งฟังดูแล้วอาจไม่เป็นธรรมสักเท่าไหร่
จนถึงตอนนี้ทางเจ้าภาพเองก็ยังไม่มีความแน่นอน ซึ่งเจ้าภาพพร้อมจะถอดเข้าถอดออกตลอดเวลา ทำให้หลายประเทศประสบปัญหาในการเตรียมทีมนักกีฬา ซึ่งสมควรจะได้ข้อสรุปโดยเร็ว รวมถึงหลายชนิดกีฬาที่มีกฏยิบย่อยสำหรับประเทศ ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย เสมือนเป็นการกีดกันในกีฬาหลายประเภทให่ให้ลงแข่ง หรือให้ลงได้บางส่วนบางรุ่น เท่านั้น
หมู่บ้านนักกีฬาสร้างเสร็จไม่ทัน อีกหนึ่งปัญหาที่เจ้าภาพต้องจัดการ
หนี่งในปัจจัยของการแข่งกีฬานานาชาติแบบนี้ คือหมู่บ้านนักกีฬาที่เพียงพอต่อนักกีฬาและทีมงานสต๊าฟโค้ช เพราะการรวมตัวกันของคนประมาณ 6,000 ถึง 7,000 คน เป็นเรื่องที่ต้องจัดระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ดี การเดิมทาง ความเป็นอยู่ มุมพักผ่อน อาหารการกิน ซึ่งในตอนนี้ดูแล้วความไม่พร้อมของเจ้าภาพต่อระบบทั้งหมด ดูจะไม่มีความพร้อมเอาเสียเลย
ซึ่งการแก้ปัญหาในตอนนี้ของเจ้าภาพคือนักกีฬาและสต๊าฟส่วนหนึ่งต้องไปพักโรงแรม ซึ่งอยู่ไกลจากสนามกีฬาที่ใช้แข่งขันมากใช้เวลาเดินทางเกือบชั่วโมงในบางโรงแรม ส่วนหมู่บ้านนักกีฬาก็ให้ปรับเหลือเป็น 3,500 คน จากเดิมที่จะให้พัก 6,000 คน แล้วบ้านพักนักกีฬาที่เป็นทาวน์เฮาส์ก็ให้พักรวมกันถึง 14 คนในหลังเดียว ไม่มีพื้นที่ผักผ่อน ไม่มีพื้นที่ครัว ดูสภาพแล้วค่อนข้างแออัด รวมถึงสนามกีฬาที่จะใช้แข่งขันที่เจ้าภาพว่าเสร็จทันใช้งานพิธีเปิดแน่นอนก็ยังไม่เรียบร้อย คงต้องลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย กับการเป็นเจ้าภาพซีเกม ครั้งที่ 32 แต่เป็นครั้งแรกของกัมพูชา จะแก้ไขข้อพิพาทรวมถึงปัญหาทั้งหมดได้ดีเพียงได